วันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553



การส่งออกผลไม้ไทยมายังจีน
              ขณะนี้ผลไม้ไทยกำลังเป็นที่นิยมของผู้บริโภคชาวจีนอย่างมาก นอกจากมีรสชาติอร่อยถูกใจแล้ว ราคาผลไม้ไทยยังสามารถแข่งขันกับผลไม้ชาติอื่นได้ เนื่องจากไม่ต้องเสียภาษีนำเข้าภายใต้ข้อตกลงเอฟทีเอ (FTA) ระหว่างไทย-จีน ด้วยสาเหตุเหล่านี้ จีนจึงกลายเป็นตลาดหลักในการส่งออกผลไม้ของไทย โดยประเทศไทยมีการส่งออกผลไม้มายังจีนสูงถึงปีละ 200,000- 300,000 ตัน
ในสมัย 30-40 ปีที่แล้วที่จีนยังปิดประเทศ ไทยมีการส่งออกผักและผลไม้ไปที่ฮ่องกง การขนส่งก็ยังใช้อุปกรณ์ง่าย ๆ คือ เข่งเป็นอุปกรณ์ในการขนส่ง โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาวของจีนและฮ่องกงจะมีความต้องการมาก ส่วนฮ่องกงได้ส่งต่อไปจีนหรือไม่นั้นไม่มีใครรู้ สมัยก่อนฮ่องกงนำเข้าผลไม้และผักจากไทยเยอะ เช่น เผือก และผักบุ้ง รวมทั้งผักใบประเภทอื่น ๆ ต่อมาหลังจากจีนทำการเปิดประเทศและปฏิรูปเศรษฐกิจ ชาวจีนมีกำลังซื้อมากขึ้น ของที่ส่งไปฮ่องกงได้มีการส่งออก ต่อไปยังจีน และในช่วงปีหลัง ๆ ก่อนที่จีนจะเข้า WTO ผลไม้ต่าง ๆ อาทิ ทุเรียน และลำไย ที่ไทยส่งไปฮ่องกง มีร้อยละ 50-70 ที่ส่งต่อไปยังจีน
ต่อมาหลังจากที่จีนเข้า WTO และลงนามความตกลง FTA กับไทย การส่งออกผลไม้ไปยังจีนมีปริมาณเพิ่มขึ้น จนปัจจุบันจีนกลายเป็นตลาดผลไม้ที่ใหญ่ที่สุดของไทย
ปัจจุบัน ไทยส่งออกผลไม้ไปยังจีนประมาณปีละ 200,000-300,000 ตัน สินค้าผลไม้ที่จีนอนุญาตให้นำเข้าจากไทยได้มีจำนวน 23 ชนิด ในจำนวนนี้ มีลำไย ทุเรียน มังคุด กล้วยไข่ ส้มโอ ลิ้นจี่ ชมพู่ เงาะ มะม่วง น้อยหน่า และลองกอง ที่ผู้ประกอบการได้นำเข้ามายังตลาดจีนแล้ว ส่วนผลไม้ประเภทอื่น ยังไม่เป็นที่รู้จักในหมู่ผู้บริโภคชาวจีน

แหล่งที่มา : http://thai.cri.cn/341/2010/08/17/242s178578.htm

วันจันทร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ขนบธรรมเนียมประเพณีด้านอาหารการกินของจีน




ชาวจีนมีคำพังเพยคำหนึ่งว่า   ใช้ยาบำรุงสู้ใช้อาหารบำรุงไม่ได้  นี้ แสดงว่า   ถ้าคนเราจะรักษาสุขภาพ ควรให้ความสำคัญกับโครงสร้างของอาหารการกิน  ถึงแม้บางคนจะมีฐานะทางเศรษฐกิจไม่ค่อยดีก็ตาม แต่พวกเขาก็สามารถจัดอาหารการกินของตนให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้  ส่วนคนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจดี ยิ่งต้องให้ความสำคัญกับเรื่องอาหารการกิน  เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว  นาน เข้า  กิจกรรมเกี่ยวกับอาหารการกินก็ได้ขยายออกไปครอบคลุมถึงด้านต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น ประเพณีการเลี้ยงอาหารตามมารยาททางสังคม ประเพณีการกินอาหารตามวันเทศกาล   ประเพณีการกินอาหารตาม ความเชื่อ ประเพณีการกินอาหารในงานสมรสและงานศพตลอดจน  การฉลอง วันเกิดและการฉลองการคลอดบุตร เป็นต้น 

วันศุกร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การตลาดระหว่างประเทศ
International Marketing คือ ระยะที่ธุรกิจดำเนินการพัฒนาสู่ตลาดระหว่างประเทศ

         
ระยะนี้ เป็นการพัฒนามาจาก ระยะ Export Marketing ซึ่งเมื่อทำการส่งออกไปได้ ซักระยะ ธุรกิจอาจจะมีความประสบความสำเร็จ แต่เมื่อไปได้อีกสักพัก ธุรกิจอาจจะค้นพบว่า มีอุปสรรคและ ปัญหาต่างๆ ที่ทำให้การทำธุรกิจระหว่างประเทศ ต้องสะดุด เช่น
          -
ความต้องการที่แตกต่างกัน ของลุกค้าในตลาดระหว่างประเทศ แต่ละแห่ง
          -
ความแตกต่างทางด้านกฏหมาย และ ข้อบังคับในตลาดระหว่างประเทศแต่ละแห่ง
          -
ความแตกต่างทางด้านอัตราค่าขนส่ง และ อัตราค่าภาษีกรมศุลกากร ของตลาดระหว่างประเทศแต่ละแห่ง
          -
ความแตกต่างทางด้านกายภาค และ สภาพแวดล้อมของตลาดระหว่างประเทศแต่ละแห่ง
          -
การกีดกันทางการค้า ของตลาดระหว่างประเทศแต่ละแห่ง
ปัญหา และ อุปสรรคที่กล่าวไป เป็นสิ่งทีทำให้เกิดปัญหาในการส่งออกทั้งสิ้น เช่น
          -
เช่นทำให้ราคาสินค้าแพงขึ้น

          -
ทำให้การขนส่งสินค้าไปจำหน่ายในตลาดระหว่างประเทศ เป็นไปอย่างยากลำบากมากขึ้น

         
วิธีแก้ปัญหาจากอุปสรรคเหล่านี้ ผู้ประกอบการ หรือ นักการตลาดระหว่างประเทศ ต้อง พยายามปรับกลยุทธ์ ตามตลาดแต่ละประเทศ เพื่อ หลีกเลี่ยงอุปสรรคเหล่านั้น เช่น
          -
เลือกการจ้างผลิต หรือ ทำการตั้งฐานการผลิต ในตลาดระหว่างประเทศ แทนการส่งออก




จากข้างต้นที่กล่าวมานั้นการตลาดระหว่างประเทศนั้นเป็นการตลาดแบบระยะที่ธุรกิจดำเนินการพัฒนาสู่ตลาดระหว่างประเทศส่วนการค้าระหว่างประเทศนั้นเป็นการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ากันระหว่างประเทศต่าง ๆ กัน ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากแต่ละประเทศมีทรัพยากรไม่เหมือนกัน    ประเทศหนึ่งผลิตสินค้าชนิดหนึ่ง  แต่ผลิตอีกชนิดหนึ่งไม่ได้  จึงจำเป็นต้องต้องนำสินค้าอีกประเทศหนึ่งที่ตนผลิตได้ไปแลกเปลี่ยนกับอีกประเทศหนึ่ง

การค้าระหว่างประเทศ (International trade) หมายถึง  การซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ากันระหว่างประเทศต่าง ๆ กัน  ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากแต่ละประเทศมีทรัพยากรไม่เหมือนกัน    ประเทศหนึ่งผลิตสินค้าชนิดหนึ่ง  แต่ผลิตอีกชนิดหนึ่งไม่ได้  จึงจำเป็นต้องต้องนำสินค้าอีกประเทศหนึ่งที่ตนผลิตได้ไปแลกเปลี่ยนกับอีกประเทศหนึ่ง