วันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553



การส่งออกผลไม้ไทยมายังจีน
              ขณะนี้ผลไม้ไทยกำลังเป็นที่นิยมของผู้บริโภคชาวจีนอย่างมาก นอกจากมีรสชาติอร่อยถูกใจแล้ว ราคาผลไม้ไทยยังสามารถแข่งขันกับผลไม้ชาติอื่นได้ เนื่องจากไม่ต้องเสียภาษีนำเข้าภายใต้ข้อตกลงเอฟทีเอ (FTA) ระหว่างไทย-จีน ด้วยสาเหตุเหล่านี้ จีนจึงกลายเป็นตลาดหลักในการส่งออกผลไม้ของไทย โดยประเทศไทยมีการส่งออกผลไม้มายังจีนสูงถึงปีละ 200,000- 300,000 ตัน
ในสมัย 30-40 ปีที่แล้วที่จีนยังปิดประเทศ ไทยมีการส่งออกผักและผลไม้ไปที่ฮ่องกง การขนส่งก็ยังใช้อุปกรณ์ง่าย ๆ คือ เข่งเป็นอุปกรณ์ในการขนส่ง โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาวของจีนและฮ่องกงจะมีความต้องการมาก ส่วนฮ่องกงได้ส่งต่อไปจีนหรือไม่นั้นไม่มีใครรู้ สมัยก่อนฮ่องกงนำเข้าผลไม้และผักจากไทยเยอะ เช่น เผือก และผักบุ้ง รวมทั้งผักใบประเภทอื่น ๆ ต่อมาหลังจากจีนทำการเปิดประเทศและปฏิรูปเศรษฐกิจ ชาวจีนมีกำลังซื้อมากขึ้น ของที่ส่งไปฮ่องกงได้มีการส่งออก ต่อไปยังจีน และในช่วงปีหลัง ๆ ก่อนที่จีนจะเข้า WTO ผลไม้ต่าง ๆ อาทิ ทุเรียน และลำไย ที่ไทยส่งไปฮ่องกง มีร้อยละ 50-70 ที่ส่งต่อไปยังจีน
ต่อมาหลังจากที่จีนเข้า WTO และลงนามความตกลง FTA กับไทย การส่งออกผลไม้ไปยังจีนมีปริมาณเพิ่มขึ้น จนปัจจุบันจีนกลายเป็นตลาดผลไม้ที่ใหญ่ที่สุดของไทย
ปัจจุบัน ไทยส่งออกผลไม้ไปยังจีนประมาณปีละ 200,000-300,000 ตัน สินค้าผลไม้ที่จีนอนุญาตให้นำเข้าจากไทยได้มีจำนวน 23 ชนิด ในจำนวนนี้ มีลำไย ทุเรียน มังคุด กล้วยไข่ ส้มโอ ลิ้นจี่ ชมพู่ เงาะ มะม่วง น้อยหน่า และลองกอง ที่ผู้ประกอบการได้นำเข้ามายังตลาดจีนแล้ว ส่วนผลไม้ประเภทอื่น ยังไม่เป็นที่รู้จักในหมู่ผู้บริโภคชาวจีน

แหล่งที่มา : http://thai.cri.cn/341/2010/08/17/242s178578.htm

วันจันทร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ขนบธรรมเนียมประเพณีด้านอาหารการกินของจีน




ชาวจีนมีคำพังเพยคำหนึ่งว่า   ใช้ยาบำรุงสู้ใช้อาหารบำรุงไม่ได้  นี้ แสดงว่า   ถ้าคนเราจะรักษาสุขภาพ ควรให้ความสำคัญกับโครงสร้างของอาหารการกิน  ถึงแม้บางคนจะมีฐานะทางเศรษฐกิจไม่ค่อยดีก็ตาม แต่พวกเขาก็สามารถจัดอาหารการกินของตนให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้  ส่วนคนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจดี ยิ่งต้องให้ความสำคัญกับเรื่องอาหารการกิน  เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว  นาน เข้า  กิจกรรมเกี่ยวกับอาหารการกินก็ได้ขยายออกไปครอบคลุมถึงด้านต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น ประเพณีการเลี้ยงอาหารตามมารยาททางสังคม ประเพณีการกินอาหารตามวันเทศกาล   ประเพณีการกินอาหารตาม ความเชื่อ ประเพณีการกินอาหารในงานสมรสและงานศพตลอดจน  การฉลอง วันเกิดและการฉลองการคลอดบุตร เป็นต้น 

วันศุกร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การตลาดระหว่างประเทศ
International Marketing คือ ระยะที่ธุรกิจดำเนินการพัฒนาสู่ตลาดระหว่างประเทศ

         
ระยะนี้ เป็นการพัฒนามาจาก ระยะ Export Marketing ซึ่งเมื่อทำการส่งออกไปได้ ซักระยะ ธุรกิจอาจจะมีความประสบความสำเร็จ แต่เมื่อไปได้อีกสักพัก ธุรกิจอาจจะค้นพบว่า มีอุปสรรคและ ปัญหาต่างๆ ที่ทำให้การทำธุรกิจระหว่างประเทศ ต้องสะดุด เช่น
          -
ความต้องการที่แตกต่างกัน ของลุกค้าในตลาดระหว่างประเทศ แต่ละแห่ง
          -
ความแตกต่างทางด้านกฏหมาย และ ข้อบังคับในตลาดระหว่างประเทศแต่ละแห่ง
          -
ความแตกต่างทางด้านอัตราค่าขนส่ง และ อัตราค่าภาษีกรมศุลกากร ของตลาดระหว่างประเทศแต่ละแห่ง
          -
ความแตกต่างทางด้านกายภาค และ สภาพแวดล้อมของตลาดระหว่างประเทศแต่ละแห่ง
          -
การกีดกันทางการค้า ของตลาดระหว่างประเทศแต่ละแห่ง
ปัญหา และ อุปสรรคที่กล่าวไป เป็นสิ่งทีทำให้เกิดปัญหาในการส่งออกทั้งสิ้น เช่น
          -
เช่นทำให้ราคาสินค้าแพงขึ้น

          -
ทำให้การขนส่งสินค้าไปจำหน่ายในตลาดระหว่างประเทศ เป็นไปอย่างยากลำบากมากขึ้น

         
วิธีแก้ปัญหาจากอุปสรรคเหล่านี้ ผู้ประกอบการ หรือ นักการตลาดระหว่างประเทศ ต้อง พยายามปรับกลยุทธ์ ตามตลาดแต่ละประเทศ เพื่อ หลีกเลี่ยงอุปสรรคเหล่านั้น เช่น
          -
เลือกการจ้างผลิต หรือ ทำการตั้งฐานการผลิต ในตลาดระหว่างประเทศ แทนการส่งออก




จากข้างต้นที่กล่าวมานั้นการตลาดระหว่างประเทศนั้นเป็นการตลาดแบบระยะที่ธุรกิจดำเนินการพัฒนาสู่ตลาดระหว่างประเทศส่วนการค้าระหว่างประเทศนั้นเป็นการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ากันระหว่างประเทศต่าง ๆ กัน ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากแต่ละประเทศมีทรัพยากรไม่เหมือนกัน    ประเทศหนึ่งผลิตสินค้าชนิดหนึ่ง  แต่ผลิตอีกชนิดหนึ่งไม่ได้  จึงจำเป็นต้องต้องนำสินค้าอีกประเทศหนึ่งที่ตนผลิตได้ไปแลกเปลี่ยนกับอีกประเทศหนึ่ง

การค้าระหว่างประเทศ (International trade) หมายถึง  การซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ากันระหว่างประเทศต่าง ๆ กัน  ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากแต่ละประเทศมีทรัพยากรไม่เหมือนกัน    ประเทศหนึ่งผลิตสินค้าชนิดหนึ่ง  แต่ผลิตอีกชนิดหนึ่งไม่ได้  จึงจำเป็นต้องต้องนำสินค้าอีกประเทศหนึ่งที่ตนผลิตได้ไปแลกเปลี่ยนกับอีกประเทศหนึ่ง

วันเสาร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2553

สินค้าสะดวกซื้อ

                                                                       สินค้าสะดวกซื้อ



                                                                   (Convenience Goods)


ความหมายอย่างสั้น


สินค้าสะดวกซื้อ คือ อะไร


        สินค้าสะดวกซื้อ (Convenience Goods) เป็นสินค้าอุปโภคบริโภค* ประเภทหนึ่งที่ ผู้บริโภคซื้อเป็นประจำเพื่อใช้เองหรือใช้ภายในครัวเรือน เพื่อตอบสนองความต้องการในทันที มีการซื้อซ้ำบ่อย ผู้ซื้อใช้ความพยายามในการซื้อน้อย และใช้เวลาในการวางแผนหรือพิจารณาใคร่ครวญก่อนซื้อไม่มาก มีความภักดีในตราสินค้าหรือยี่ห้อต่ำ เพราะเป็นสินค้าพื้นฐานสำหรับการดำรงชีวิตที่หาตราอื่นทดแทนได้ง่าย


ความสำคัญของเรื่อง


สินค้าสะดวกซื้อ..ต้องหาซื้อสะดวก


เนื่องจากสินค้าสะดวกซื้อเป็นสินค้าหรือบริการพื้นฐานที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิต ประจำวัน เช่น สบู่ ยาสีฟัน แปรงสีฟัน ผงซักฟอก หมากฝรั่ง ลูกอม ขนมขบเคี้ยว อาหารสำเร็จรูป หนังสือพิมพ์ บริการอย่างซักอบรีดเสื้อผ้า และรถโดยสารประจำทาง เป็นต้น ด้วยลักษณะการดำเนินชีวิตที่เร่งรีบและมีเวลาน้อยเช่นปัจจุบัน การซื้อสินค้าประเภทนี้ลูกค้าจึงต้องการ ความสะดวกสบาย รวดเร็ว ให้ความสำคัญกับการเลือกหรือเปรียบเทียบสินค้าหรือราคาก่อน ตัดสินใจน้อย และมักซื้อยี่ห้อที่เคยใช้หรือคุ้นเคยจากสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ ถ้าสินค้าหรือบริการสะดวกซื้อไม่มีขายในเวลาหรือสถานที่ที่ต้องการ ลูกค้าจะเปลี่ยนไปซื้อยี่ห้ออื่นที่มีขายอยู่ทันที เพราะนำมาใช้ทดแทนได้ ผู้ผลิตจึงเสียโอกาสในการขายไปอย่างน่าเสียดาย และมีโอกาสที่จะเสียลูกค้ารายนั้นตลอดไป


ความหมายโดยละเอียด


สินค้าสะดวกซื้อมีอะไรบ้าง


สินค้าสะดวกซื้อเป็นสินค้าอุปโภคบริโภคประเภทหนึ่ง ซึ่งแบ่งออกตามพฤติกรรมหรือนิสัยการซื้อของลูกค้า ดังนี้


1. สินค้าพื้นฐาน (Staple Goods) คือ สินค้าที่ลูกค้าซื้อเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ เมื่อ ของเดิมหมดก็จะหาซื้อทันที เช่น สบู่ ยาสีฟัน ผงซักฟอก ข้าวสาร อาหารสำเร็จรูป เป็นต้น



2. สินค้าซื้อฉับพลัน (Impulse Goods) คือ สินค้าที่ลูกค้าซื้อโดยไม่ได้วางแผน หรือ ตั้งใจไว้ล่วงหน้า แต่เมื่อพบเห็นสินค้านั้นโดยบังเอิญและมีเหตุกระตุ้นให้ซื้อก็ซื้อ ทันที เช่น เดินผ่านแผงขายหนังสือพิมพ์ เห็นพาดหัวข่าวน่าสนใจก็ตัดสินใจซื้อ หรือเดินผ่านตู้เอทีเอ็ม นึกขึ้นได้ว่าเงินสดในกระเป๋าหมด ก็แวะเข้าไปกดเงิน เป็นต้น


3. สินค้าที่ซื้อฉุกเฉิน (Emergency Goods) คือ สินค้าที่ลูกค้าซื้ออย่างเร่งด่วนด้วยเหตุ จำเป็นพิเศษ เช่น เมื่อไฟฟ้าดับก็ต้องรีบออกไปหาซื้อเทียนไขหรือถ่านไฟฉายมาใส่กระบอกไฟฉาย เดินหกล้มหัวเข่าแตก ก็ต้องรีบหาซื้อพลาสเตอร์ยา เป็นต้น






ข้อพิจารณาในการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้


ปัจจัยหลักในการทำการตลาดสินค้าสะดวกซื้อ


สินค้าสะดวกซื้อไม่ว่าประเภทใดก็ตาม ผู้ผลิตหรือนักการตลาดที่ดูแลรับผิดชอบต้องระลึกอยู่เสมอว่าตนเองมีหน้าที่ดูแลอำนวยความสะดวกให้ลูกค้าผู้ซื้ออยู่เสมอ ด้วยเหตุนี้จึงต้อง


1. ออกแบบให้ตัวสินค้าหรือบริการสะดวกซื้อสะดวกใช้อย่างแท้จริง เช่น มีให้เลือกหลายชนิด หลายขนาด น้ำหนักไม่มากนัก ลูกค้าสามารถซื้อหรือใช้บริการได้สะดวกรวดเร็ว ข้อความบนฉลากหรือบรรจุภัณฑ์ต้องโดดเด่นชัดเจนชนิด “ขายตัวเองได้” ไม่ใช่ต้องพึ่งพาพนักงานขายมาอธิบายเพิ่มเติม


2. ตั้งราคาต่อหน่วยไม่สูงเพื่อกระตุ้นให้เกิดการซื้ออย่างรวดเร็ว กำไรที่ได้มาจากการขายในปริมาณมาก ไม่ใช่การตั้งกำไรต่อหน่วยสูงๆ นอกจากนี้ สินค้าประเภทนี้เป็นสินค้าจำเป็นพื้นฐานที่มีคู่แข่งหลายยี่ห้อและสามารถใช้ทดแทนกันได้ง่าย ราคาจึงเป็นสิ่งสำคัญในการตัดสินใจซื้อของลูกค้า


3. วางจำหน่ายอย่างทั่วถึง ครอบคลุมตลาดให้กว้างขวางที่สุด ให้ใกล้และสะดวก แก่ลูกค้าที่สุด ตัวอย่างร้านค้าขายสินค้าสะดวกซื้อที่พบเห็นมากในปัจจุบัน เช่น ร้าน เซเว่น-อีเลฟเว่น ร้านแฟมิลี่มาร์ท ซึ่งมีสาขาย่อยในแหล่งชุมชนต่างๆ มากมาย หรือร้านค้าปลีกโชว์ห่วยต่าง ๆ


4. โฆษณาประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้าทราบอย่างสม่ำเสมอว่าสามารถหาซื้อสินค้าได้ ที่ไหน ไม่ใช่รอให้พึ่งพ่อค้าคนกลางหรือผู้จัดจำหน่ายช่วยเชียร์สินค้าให้


5. จัดกิจกรรมส่งเสริมการขายอย่างสม่ำเสมอ และจัดโชว์สินค้าให้โดดเด่นเพื่อดึงดูดใจลูกค้า






หมายเหตุ *ดูความหมายคำว่า สินค้าเพื่อบริโภค (Consumer Goods) เพิ่มเติม



ที่มา... 


Philip Kotler and Gary Armstrong. (2001). Principles of Marketing (International Edition). 9th Edition.


Prentice Hall International, Inc. ISBN 0-13-028-329-0.


รศ.สุปัญญา ไชยชาญ. (2543). หลักการตลาด. พิมพ์ครั้งที่ 2. ISBN 974-89458-4-7.


รศ.สุปัญญา ไชยชาญ. (2542). พจนานุกรมศัพท์การตลาด อังกฤษ-ไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1.


ISBN 974-8307-99-9.

ตัวอย่างสินค้าสะดวกซื้อ